ความเสี่ยง คือ ความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยไม่สามารถทราบล่วงหน้า และหากมันเกิดขึ้นแล้วช่วงเวลาแห่งความสุขก็อาจจะเปลี่ยนเป็นช่วงเวลาแห่งความโศกเศร้าได้ ความเสี่ยงอาจส่งผลกระทบต่อเป้าหมายทางการเงินในอนาคตได้ ดังนั้นลองมาดูกันว่าจะมีวิธีรับมือความเสี่ยงได้อย่างไรบ้าง
1. ควรเก็บเงินก้อนแรกเพื่อเป็น “กองทุนฉุกเฉิน”
สำรองเงินไว้อย่างน้อย 6-12 เดือนของค่าใช้จ่าย เมื่อฉุกเฉินสามารถนำมาใช้ได้ทันที ไว้ในบัญชีออมทรัพย์ หรือซื้อกองทุนตลาดเงิน
2. ควรทำประกันชีวิต
วงเงิน 5-10 เท่าของรายจ่ายต่อปี หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน จะได้มีเงินพอใช้จ่ายสำหรับครอบครัวในช่วงเวลาปรับตัว
3. ควรทำประกันสุขภาพ
มีให้เลือก 2 รูปแบบ ได้แก่ ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย และการซื้อสัญญาแนบท้ายประกันชีวิตโดยคุ้มครองโรคตามที่ต้องการ
4. ควรทำประกันอุบัติเหตุ
ควรมีวงเงินประกันสำหรับค่ารักษาพยาบาลขั้นต่ำ 5 แสนบาทต่อครั้ง
5. ควรทำประกันคุ้มครองโรคร้ายแรง
หากเป็นโรคที่ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาอย่างต่อเนื่อง และโอกาสหายมีน้อย เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ
6. ควรทำประกันบำนาญและลงทุนใน RMF
เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินในยามเกษียณและยังได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
เรียบเรียงจากส่วนหนึ่งที่ผู้เขียนหนังสือ สาธิต บวรสันติสุทธิ์ CFP เล่าไว้
อ่านต่อได้จากหนังสือ “บริหารเงินเป็นเห็นเงินล้าน ยุค New Normal” แบบตัวเล่ม